เทคนิคการถ่ายภาพบุคคลให้ได้ดี
การ ที่เราจะถ่ายภาพบุคคล(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..นางแบบ)ให้ได้ดี..ให้ออกมาสวยเป็น ที่น่าพอใจ(ของตัวแบบเอง)นั้น
ตัวช่างภาพเองจะต้องคำนึงถึงเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้..
*หมายเหตุ
ในที่นี้จะขอใช้คำว่า “นางแบบ” แทนบุคคลทั้งหมด
การทิ้งฉากหลัง หรือ ละลายฉากหลัง
ดีตรงที่จะทำตัวแบบเด่น ไม่มีฉากหลังรก ๆ มาแย่งสายตา
แต่ในบางกรณี..หากฉากหลังไม่แย่งสายตา หรือ เป็นลักษณะฉากหลังที่สามารถที่จะเล่าเรื่องราวได้ ก็ถือได้ว่าเป็นภาพที่สมบูรณ์เช่นกัน
แสงสีของฉากหลัง
แสงสีของฉากหลังที่ดี ก็คือ แสงสีของฉากจะต้องมืดกว่าค่าแสงเฉลี่ยของหน้านางแบบ และสว่างกว่าค่าแสงที่ผมส่วนมืดของนางแบบ
ในบางกรณี..เราจะอาจกำหนดให้ฉากหลังมีความสว่าง หรือ ชัด ก็ได้ ถ้าหากฉากหลังนั้นๆ มีความน่าสนใจ
(แต่ ถ้าหากฉากหลังนั้นมีลักษณะไม่สวยงาม ยุ่งเหยิง รวมทั้งจะไปแย่งความเด่นของตัวแบบไปโดยไม่จำเป็นแล้ว ก็ให้ใช้วิธีการละลายฉากหลัง หรือ เลี่ยง/หลบฉากหลังแทน)
อย่าให้ตัวแบบ/นางแบบกลายเป็นคนพิการ
กล่าว คือ ในถ่ายรูปบุคคลใดๆ พยายามอย่าทำให้นางแบบเป็นคนพิการเด็ดขาด นั่นคือ อย่าให้ปลายมือ ปลายเท้า ข้อศอกขาดพยายามเก็บเข้ามาในเฟรมให้หมด
แต่.. ถ้าหากจะตัดส่วนไม่เอาไว้ในเฟรมก็ต้องตัดให้เห็นว่าจงใจตัด เช่น ตัดสูงกว่าศอกและเข่า (แต่ประเภทเห็นทั้งตัว ยกเว้นนิ้วเท้าอย่างนี้ไม่ควรตัดอย่างเด็ดขาด)
อย่าให้ตัวแบบคอขาด
ถ้า ฉากหลังเป็นท้องฟ้า ทะเล ขอบฟ้า หรือ อะไรก็ตามที่มีเส้นนอน พยายามอย่าจัดให้พาดผ่านคอนางแบบเด็ดขาด เพราะจะทำให้ได้ภาพในลักษณะ “นางแบบคอขาด”
*จะให้ที่สุดดีควรจัดให้เส้นนอนอยู่สูงกว่าระดับศีรษะ หรือ ต่ำกว่าไหล่จึงจะทำให้ภาพดูดีขึ้น
การวัดแสงที่หน้าให้ โฟกัสไปที่ลูกตาเป็นสำคัญ
การถ่ายภาพใบหน้า “จะต้องเน้นถ่ายลูกตา : ลูกตาจะต้องชัดเสมอ”
ถ้าหากไม่ชัดก็จะต้องมีเหตุผลมารองรับว่า...ทำไมถึงไม่อยากให้ชัด
* ใบหน้าจะเป็นจุดแรกที่คนมอง ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดเราจะต้องเซ็ทให้แสงที่หน้าพอดีเสมอ ยกเว้นในกรณีที่เจตนาให้มืด หรือ สว่างกว่าปกติ...แต่ก็ต้องมีเหตุผลมารองรับเสมอ
จะเลือกขวา หรือ ซ้าย ดี
"ปกติแล้วใบหน้าของคนเราทั้งสองซีก...สวยไม่เท่ากัน”
เรื่อง นี้ช่างภาพผู้ที่มีความพิถีพิถันจะต้องอาศัยการพินิจพิจารณาให้ดี ๆ หลังจากนั้นจึงค่อยพยายามวางกล้องให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า หรือ จัดแสงหลักให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า
ตาโตสิ..ดูดีกว่า
ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า “ใบหน้าของคนเราทั้ง 2 ซีก..สวยไม่เท่ากัน” …
คำถาม...แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรล่ะ?
คำตอบ…ใบหน้าซีกที่สวยกว่าดูไม่ยากครับ.. มีเคล็ดลับอยู่ว่า “ให้ดูที่ลูกกะตาเป็นสำคัญ”...หากลูกตาข้างไหนโตกว่า..ใบหน้าข้างนั้น คือ ก็มักจะเป็นข้างที่สวยกว่า
(อันนี้ถือเป็น “เคล็ดลับ” ที่จะมักรู้กันในหมู่ช่างภาพระดับเซียน ๆ ทั้งหลายนะครับ)
ให้แสงครึ่งหน้า
ในกรณีที่สภาพของแสงที่ตกกระทบบนใบหน้าทั้งสองฟากมีความต่างกันมาก ผลที่ออกมาก็คือ ซีกหนึ่งสว่างจ้า แต่อีกหนึ่งมืด
หากมีสภาพแสงในลักษณะนี้ ประการแรกให้ถามตัวแบบว่า ชอบสภาพแสงในลักษณะนี้หรือไม่
สภาพ ที่แหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านข้าง หากดูแล้วเห็นว่าจะทำให้ตัวแบบบถ้าดูแล้ว “ดูไม่ดี” เราสามารถกำหนดเทคนิคให้ตัวแบบหันหน้าเข้าหาแสงเล็กน้อยก็จะดูขึ้นมากที เดียว
อย่าให้นางแบบหน้ามืด
หากจำเป็นที่เราจะต้องถ่ายภาพ ย้อนแสง ก็ให้ Fill flash เพื่อลบเงา(เปิดแสง)ที่ตัวแบบ (ยกเว้นในกรณีที่เราต้องการในลักษณะ Silhouette ก็ว่าไปอย่าง)
เงยหน้านิดนึง..แล้วจะดี
กำหนดให้ตัวแบบเงยหน้าขึ้นนิดนึง ภาพจะออกมาดูดีกว่าหน้าตรง หรือก้มหน้างุด ๆ (ยกเว้นเจตนาให้ได้ภาพที่แสดงออกซึ่งอารมณ์อื่นใด?)
*เคล็ดลับหนึ่งในการดูว่าใบหน้าข้างไหนสวยกว่ากัน ก็คือ ให้สังเกตที่มุมปากเวลายิ้มของตัวแบบ
(มุมปากข้างไหนยกสูงกว่ากัน ก็ข้างนั้นแหละครับ)
ทิศทางแสง
หาก เป็นไปได้พยายามเลี่ยงแหล่งกำเนิดแสงซึ่งอยู่หน้าตรง ตรงหลัง ด้านบน ด้านล่าง ทั้งนี้เพราะแหล่งกำเนิดแสงในลักษณะนี้จะถ่ายภาพให้สวยยาก
(ยกเว้นภาพที่เจตนาให้เป็นเช่นนี้โดยเฉพาะ)
พยายาม กำหนดให้ทิศทางแสงเข้าด้านข้าง หรือ เฉียง ๆ (สภาพแสงธรรมชาติที่เหมาะสมดังกล่าว ก็คือ ในช่วงเวลาเช้าไม่ควรเกิน 8 โมงเช้า
และอีกช่วงหนึ่งก คือ ช่วงเวลาเลย 5 โมงเย็นไปแล้ว)
*หรือ อีกกรณีหนึ่ง ก็คือ พยายามเลือกสภาพแสงเกลี่ย ๆ นุ่ม ๆ เช่น ในสภาพแสงรำไร ใต้ชายคา หรือ ในวันที่ฟ้าครึ้ม หรือ ให้เกลี่ยแสงโดยใช้แผ่นรีแฟล็ก
หรือแก้โดยการ fill flash
(การ fill flash อย่างง่ายๆ ที่สุด กือ การนำกระดาษขาวมาทำเป็นกระบัง(ป้อง)ไว้เหนือ flash...และให้เงยหน้า flash ขึ้นด้านบน ประมาณ 45 องศา
...เป็นการแล้วยิง/สะท้อนแสงลงมา)
วัดแสงอย่างไร
ใน การถ่ายภาพบุคคล ควรเน้นการวัดแสงแบบเฉพาะจุดที่ใบหน้าเป็นสำคัญ หลังจากวัดแสงได้แล้วก็ให้แล้วกดปุ่ม AE ล็อคค่าแสงไว้ จากนั้นจัดองค์ประกอบใหม่
(หรือในกล้องบางรุ่นอาจมีฟังก์ชั่นพิเศษ เช่น มีระบบ FlexiZone (CANON) หรือ ฟังก์ชั่น Area (FUJI) เป็นต้น)
*ถ้าเปลี่ยนมุม หรือ ค่าแสงเปลี่ยน ก็ให้เล็ง แล้วกดล็อกค่าแสงใหม่
จะใช้เลนส์ช่วงมุมกว้าง หรือ ช่วงเทเล...ดี
การ ถ่ายภาพคนให้ดูดี มักนิยมใช้กันในช่วง 85-145 มม. ทั้งนี้เพราะในช่วงเทเลนั้นจะได้ภาพที่ดี ให้สัดส่วนสวยที่สุด รวมทั้งทิ้งฉากหลังได้ดี ให้อารมณ์ได้นุ่มนวลดี
เห็นนางแบบได้ชัดเต็มตา
*ในการถ่ายภาพบุคคลนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้กว้างสุดเสมอไป นั่นคือ ให้พิจารณาเลือกเอาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
เช่น f/2.8-3.5 ในช่วง 50 มม. และ f/3.5-4.5 สำหรับช่วง 105 มม. เป็นต้น
ส่วนเลนส์อื่น ๆ ก็ให้อาศัยหลักการคำนวณคล้าย ๆ กัน เช่น ช่วงรับแสงกลาง ๆ ประมาณ 2 สต็อป จากกว้างสุด ถึง 2 สต็อปจากแคบสุด เป็นต้น
ประกายตา
“ยิ่งมีประกายตาวาววับ...ยิ่งสวย”... พยายามเลือกมุมถ่าย หรือ เปิดแฟลช หรือ ใช้รีแฟล็กช่วยบ้าง เพื่อให้ตามีประกาย
มุมสวย/ไม่สวย
แต่ ละคนมักจะมีมุมสวย และมุมไม่สวยประจำตัวอยู่ ช่างภาพมีความพิถีพิถันจะต้องมีเซนต์ตรงนี้ นั่นคือ “จะต้องพยายามหาจุดเด่นนี้ให้เจอ” เพราะนั่นคือ ตำแหน่งที่จะวางกล้องนั่นเอง
*ตำแหน่งยอดนิยมในการวางกล้อง ก็คือ ตำแหน่งระดับปลายจมูกของนางแบบ หรือ สูง/ต่ำกว่าไม่มากนัก ไม่เกินตา และปาก ยกเว้นในกรณีหากพิจารณาแล้วเห็นว่า
“นางแบบมีมุมสวยเป็นพิเศษ” หรือ “มีส่วนจะต้องหลบ/เลี่ยงเป็นพิเศษ” ก็อาจจะต้องกด หรือเงยกล้อง เข้าช่วย
“มุมมหาชนสำหรับถ่ายภาพนางแบบ ก็คือ มุมหน้าเฉียง” ตำแหน่งวางกล้อง ก็คือ ให้เล็งไปที่แนวแบ่งครึ่ง ระหว่างสันจมูก และดวงตา...มุมนี้ส่วนใหญ่มักจะสวย
ก้มนิด เงยหน่อย
จะ ถ่ายมุมก้ม หรือเงย ดี...ไม่ได้ถือเป็นกฎตายตัวแต่อย่างใด ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงปัจจัยเอื้ออย่างอื่นด้วย กล่าวคือ “ให้พิจารณาถึงโครงหน้าของนางแบบเป็นสำคัญ”
*หลักการ ก็คือ อะไรไม่สวยก็ผลักไปให้ไกล ๆ จากกล้อง เช่น ถ้าคางไม่สวย หรือ กรามกว้าง...ก็ให้ก้มหน้านิด ๆ นึง จะได้ไม่เห็นกราม หรือ
ผู้ที่หน้าผากเถิก...ก็ให้เงยขึ้นมาหน่อย เป็นต้น
เคล็ดลับ : การก้มหน้าจะทำให้ตาโต และอยู่ใกล้กล้อง ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดสายตามากขึ้น
ที่ควรปิดก็ให้ปิด... ที่ควรเปิดก็เปิด
เช่น
“มีช่วงโหนกแก้มสูง หรือมีกรามกว้าง”.....ก็ให้ดึงผมลงมาปิดข้างแก้มสักหน่อยก็ดี หรือว่า ให้นางแบบหันข้างหลบเอาไหล่บังนิดนึง หรือ ให้เอียงหน้าหน่อยก็จะดูดีขึ้น
“หูกาง...จะดูแล้วเด่นเกินไป” ก็ให้เกลี่ยผมลงมาปิดซะหน่อย หรือ จะใช้เทคนิคนิคเบี่ยงข้างหลบมุมไป
(อย่าให้เห็นพร้อมกันทีเดียวทั้งสองข้าง)
“แก้มป่อง” กรณีนี้จะดูเป็นราย ๆ ไป เช่น บางคนถึงแก้มป่องแต่ก็น่ารัก ก็ให้เสยผมเปิดแก้มป่องไปเลยเพราะจะยิ่งช่วยเพิ่มความน่ารักขึ้นไปอีก
ไม่ใช่ผู้พิการทางสายตานะ
ไม่ควรให้นางแบบใส่แว่นตาดำถ่ายภาพอย่างยิ่ง แต่อาจจะเลี่ยงได้ก็โดยให้ดันขึ้นไปเหน็บบนศรีษะแทน
(ในบางครั้งยังจะช่วยให้นางแบบดูสวยเก๋ เท่ห์ไปอีกแบบ..ก็ได้)
หนูไม่ใช่ภาพการ์ตูนถมดำนะ
“นางแบบไม่ใช่ตัวการ์ตูน” ดังนั้นจึงไม่ควรให้เห็นเส้นผมในลักษณะดำเป็นปื้นๆ (จะต้องให้เห็นเส้นผมของนางแบบเป็นเส้นๆ)
หาก ว่า..มองแล้วเห็นผมดำเป็นปื้น “ก็ให้จัดแสงใหม่” โดยพยายามจัดแสงให้อยู่ในตำแหน่งให้แสงกระทบผมให้ดี หรือ อาจจะใช้วิธีการหรี่ช่องรับแสงลงนิดนึงเพื่อให้ผมเป็นเส้น.
ลองใช้เทคนิค Rim Light
จาก การวิจัย ได้บ่งบอกว่า การใช้เทคนิค Rim Light นี้...จะช่วยทำให้ตัวนางแบบดูดีขึ้น สวยขึ้น 18.75% รวมทั้งจะทำให้ผมสวยขึ้น 33.29%... (ว่าไปนั่น)
ไม่ใช่ทำบัตรประชาชนนะ
ควร หลีกเลี่ยงการถ่ายแบบตรง ๆ เหมือนถ่ายรูปติดบัตรประชาชน ทั้งนี้เพราะการที่จะถ่ายมุมหน้าตรงให้สวยนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่หากถึงจะถ่ายมุมตรงก็สวย
มุมอื่นก็มักจะถ่ายได้สวย ดังนั้น ก็ลองเปลี่ยนมุม หรือ ลองหามุมสวยอื่น ๆ ดูบ้าง
Properties
ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเรื่องคุณสมบัติอะไรหรอกนะ แต่..หมายถึงอุปกรณ์ประกอบฉากนั่นเอง
ดัง เช่น ดอกไม้ เครื่องประดับ หนังสือ กระเป๋า หมวก ตุ๊กตา หมอนอิง รวมถึงอุปกรณ์อื่นใด โดยพยายามเลือกอันที่ดูแล้วน่ารัก ๆ เหมาะกับนางแบบ และเหมาะสมกับสถานที่
เคล็ดลับ : อุปกรณ์ประกอบฉากเหล่านี้ ถ้าหากให้นางแบบได้ถือ อุ้ม หิ้ว หรือ อิง แอบ แนบ หรือวางไว้ข้างๆ แนบตัว ก็จะทำให้นางแบบไม่รู้สึกขวยเขินเขินมากเกินไปนัก
อีกทั้งยังจะเป็นการช่วยสร้างบรรยากาศ และเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ถ่ายคร่อม
อิ อิ...ไม่ได้หมายถึง ช่างภาพขึ้นคร่อมนางแบบแล้วจึงถ่าย แบบ Clip ที่กำลังแพร่หลายอยู่ตอนนี้หรอกนะ
แต่... ความหมายในที่นี้ หมายถึง “การถ่ายคร่อม” โดยการใช้หลักการง่าย ๆ นั่นก็คือ ใช้หลักการการวัดแสงอย่างง่าย ๆ โดยการวัดแสงแบบพื้นๆ
นั่นคือ การวัดแสงที่หน้าหน้าสว่างพอดี ๆ โอเวอร์นิด และ อันเดอร์หน่อย ๆ
หมายเหตุ 1 :
ความหมายของคำว่า “ถ่ายคร่อม” ในอีกนัยหนึ่ง จะหมายรวมไปถึง “การถ่ายคร่อมแอ๊คชั่นของนางแบบ” นั่นคือ เวลาโพสท่าด้วย เช่น ให้ตั้งเป็นถ่ายต่อเนื่อง
หรือ ถ่ายเป็นชุด ชุดละอย่างน้อย 2-3 รูป ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเลือกแอ๊คชั่นและอารมณ์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
* พยายามหมุนกล้องทั้งแนวตั้ง/แนวนอน ซูมเข้า/ออก เปลี่ยนองค์ประกอบ ขยันขยับย้ายจุดวางกล้องซ้าย/ขวา บน/ล่าง กด/เงย หรือ ลองย้ายตำแหน่งวางกล้อง
เพื่อที่จะหามุมสวยมุมอื่นดูบ้าง และ/หรือ อาจหมายรวมไปถึง..อาจจะลองย้ายตำแหน่งนางแบบ หรือ ย้ายตำแหน่งตัวช่างภาพเอง หรือ ย้ายไปยังฉากหลังอื่น ๆ ดูบ้าง
หมายเหตุ 2 :
การ ถ่ายภาพในลักษณะเช่นนี้...ช่างภาพจงอย่าได้ขี้เหนียวหน่วยความจำ(ฟิล์ม)จน เกินไปนัก ทั้งนี้เพราะเราอาจจะได้ภาพที่เรารู้สึกพอใจจริง ๆ
เพียงไม่กี่ภาพเท่านั้นจากหลาย ๆ ภาพนั้นก็ได้ รวมทั้งโอกาสที่จะเอื้อให้ได้ถ่าย..ก็ใช่ว่าจะมีร่ำไป ก็หาไม่
การโพสท่า
พยายาม จัดวางท่าทางของนางแบบให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ให้ดูแล้วไม่รู้สึกว่าขัดๆ ขืนๆ หรือ ดูว่าเจตนาจนเกินไป....ไม่งั้นจะทำให้ภาพที่ออกมาจะดูแข็งกระด้าง ฯลฯ
เคล็ดลับ : ลองหาจังหวะดี ๆ และใช้การถ่ายแบบ Candid ดูบ้าง เพราะการถ่ายในลักษณะนี้มักจะถ่ายทอดอารณ์ได้กลมกลืน ดูดี...ไม่น่าเบื่อ
แต่งตัว แต่งหน้าซะหน่อย
หาก เป็นไปได้พยายามแต่งตัวให้เข้ากับบุคลิกของนางแบบ และให้ตัวแบบได้ปัดหน้าทาแป้ง ฯลฯ บ้าง ทั้งนี้เพราะอย่างน้อยที่สุดการแต่งหน้าก็เพื่อกลบจุดด้อยบนใบหน้า
..ไม่ให้ เด่นเกินไป นั่นเอง
คุยกันก่อน
ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ ช่างภาพที่มีเซนต์ซะหน่อย ควรจะชวนนางแบบสนทนาพูดคุยซะก่อน เหตุผลก็เพื่อไม่ให้นางแบบรู้สึกเขินอาย หรือรู้เกร็งจนเกินไป
(ซึ่งอาจจะแสดงท่าทางออกมาอย่างไม่เป็นธรรมชาติระหว่างการถ่ายภาพ)
รวมทั้งและจะได้ทำความเข้าใจกันด้วยว่าจะให้รูปออกมาสไตล์ไหน อารมณ์ไหน
................
ที่ จริงยังมีหัวข้อยิบย่อยอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคลอีกหลายหัว ข้อ...แต่..อาจจะดูลึกเกินไปสักนิดนึงสำหรับผู้ที่จะเริ่มเรียนรู้การถ่าย ภาพ....
จึงขอนำมาฝากกันเพียงเท่านี้ล่ะกัน เนอะ
เครดิตบทความ โดยคุณ Peesuh จากเว็บบอร์ด siam freestyle
กระทู้ http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=733
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น